สัญญาจ้างผลิตสินค้า เรื่องสำคัญที่เจ้าของแบรนด์ต้องรู้ก่อนจ้างโรงงานผลิต

เนื้อหาบทความ

เรื่อง สัญญาจ้างผลิตสินค้า สำคัญอย่างมาก ก่อนการที่จ้างผลิตสินค้าต่างๆ เป็นสัญญาที่ผู้ซื้อและผู้ผลิตตกลงกันว่าผู้ผลิตจะผลิตสินค้าสำคัญตามที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยผู้ซื้อจะต้องมีการสั่งซื้อสินค้าตามปริมาณและเวลาที่กำหนดในสัญญา การผลิตสินค้าสำคัญจะต้องได้รับการตรวจสอบคุณภาพก่อนจะส่งมอบให้กับผู้ซื้อ และหากพบว่ามีความผิดพลาด หรือไม่ตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา ผู้ผลิตจะต้องรับผิดชอบและแก้ไขก่อนส่งมอบให้กับผู้ซื้อ


สัญญาจ้างผลิตสินค้า คืออะไร?

สัญญาจ้างผลิตสินค้า หรือ สัญญาว่าจ้างพัฒนาและผลิตสินค้า คือ สัญญาซึ่งมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่ ผู้จ้างผลิต ฝ่ายหนึ่ง และผู้รับจ้างผลิต อีกฝ่ายหนึ่ง โดยที่ ผู้จ้างผลิต ว่าจ้างให้ผู้รับจ้างผลิต ผลิตสินค้าต่างๆ (เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ยา เสื้อผ้า) ตามคุณสมบัติและคุณลักษณะที่ผู้จ้างผลิตกำหนดโดยเฉพาะเจาะจง โดยที่ผู้จ้างผลิตตกลงจะชำระค่าจ้าง เพื่อตอบแทนการผลิตและอาจรวมถึงค่าวัตถุดิบ วัสดุ อุปกรณ์ ในกรณีที่ผู้รับจ้างผลิตเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบ วัสดุ และอุปกรณ์ และ/หรือค่าพัฒนาและออกแบบสินค้าในกรณีที่ผู้รับจ้างผลิตเป็นผู้พัฒนาและออกแบบสินค้านั้นด้วย แล้วเลือก โรงงานรับผลิตกับโรงงานผลิตเอง เลือกแบบไหนดีต่อธุรกิจมากกว่า ?

สัญญาจ้างผลิตสินค้า คืออะไร?

โดยในปัจจุบัน ผู้ประกอบการมักเลือกใช้การจ้างผลิตสินค้าแทนการดำเนินการผลิตสินค้าด้วยตนเอง เนื่องจากผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนในการซื้อ เครื่องมือ เครื่องจักรในการผลิต รวมถึงการตั้งโรงงาน และสามารถนำเงินทุนดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น การตลาดและประชาสัมพันธ์ ตลอดจนลดระยะเวลาในการผลิต และได้รับสินค้ามีคุณภาพ

เนื่องจากผู้รับจ้างผลิตมีความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้านั้นๆ อยู่แล้ว และมีการผลิตเป็นประจำ และมีความคล่องตัวในการผลิตสินค้า เช่น สามารถเพิ่ม ลด หยุด หรือเปลี่ยนแปลงการผลิตสินค้าได้ตามเงื่อนไขที่ตกลงในสัญญา และสามารถเปลี่ยนกลยุทธ์การขายสินค้าให้ตรงตามความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว

ดังนั้น ก่อนที่ผู้จ้างผลิตจะตัดสินใจจ้างโรงงานผลิต OEM ควรให้ความสำคัญกับ 3 กฎเหล็กดังนี้ เพื่อเป็นเกราะคุ้มกันไม่ให้ธุรกิจเกิดปัญหาในอนาคต ได้แก่

  1. ก่อนตัดสินใจจ้างโรงงานผลิตฯ ทุกครั้ง สามารถตรวจสอบรายชื่อโรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายในเว็บไซต์กรมโรงงานอุตสาหกรรม
  2. ผู้จ้างผลิตควรทราบในทุกขั้นตอนของการผลิต หากสินค้าเกิดปัญหาต่างๆ ในกระบวนการผลิต นอกจากโรงงานรับจ้างผลิตจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้จ้างผลิตควรเข้าใจถึงปัญหานั้นอย่างแท้จริง  เพราะจะได้แก้ไขอย่างตรงจุดและถูกวิธี
  3. ผู้จ้างผลิตต้องให้ตรวจสอบสัญญาว่าจ้างที่เขียนไว้กับโรงงานอย่างรัดกุม โดยเฉพาะความลับด้านส่วนผสมและกรรมวิธีในการผลิตสินค้า เพื่อให้เป็นความลับระหว่างผู้จ้างผลิตกับโรงงานรับจ้างผลิต หากโรงงานรับจ้างผลิตนำข้อมูลที่เป็นความลับไปเผยแพร่ ผู้จ้างผลิตสามารถดำเนินคดีตามกฎหมายได้ทันที

สัญญาจ้างผลิตสินค้า ควรมีรายละเอียดอะไรบ้าง? 

รายละเอียดในการจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้า หรือ สัญญาว่าจ้างพัฒนาและผลิตสินค้า รวมทั้งศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่องที่ต้องระวังเมื่อจ้างโรงงานรับผลิต และผู้จัดทำควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้ เพื่อนำไปใช้อ้างอิงได้ถูกต้องตามกฎหมาย

1. ผู้จัดทำควรระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้า โดยละเอียดและครบถ้วน เช่น

  • รายละเอียดของคู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  • รายละเอียดของสินค้าที่จ้างผลิต เช่น คุณสมบัติ คุณลักษณะเฉพาะ รวมถึง บรรจุภัณฑ์ วัตถุดิบ และวัสดุ จำนวนที่ผลิต ระยะเวลาสัญญา (กรณีว่าจ้างผลิตต่อเนื่อง) การส่งมอบ และตรวจรับสินค้า และการรับประกันการผลิต และ/หรือตัวสินค้า
  • รายละเอียดค่าตอบแทน เช่น อัตราค่าจ้าง ค่าบริการพัฒนา/ออกแบบ ค่าวัสดุอุปกรณ์ และกำหนดชำระเงิน
  • รายละเอียดกระบวนการผลิต (ถ้ามี) เช่น แผนการผลิต มาตรฐานการผลิต การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ
  • รายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สูตร กรรมวิธี การออกแบบ และเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้า
  • รายละเอียดข้อตกลงอื่น (ถ้ามี) เช่น การทดสอบและสินค้าตัวอย่าง หน้าที่การจดแจ้งหรือขึ้นทะเบียนการผลิตสินค้ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)

2. เมื่อผู้จัดทำระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาครบถ้วนแล้ว และผู้จัดทำควรจัดทำสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้าเป็นลายลักษณ์อักษร และให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจของคู่สัญญา ลงนามในสัญญาดังกล่าวให้เรียบร้อย โดยอาจจัดทำคู่ฉบับของสัญญาอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเก็บไว้ใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้ ฝ่ายละอย่างน้อย 1 ฉบับ

3. คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง มาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หนังสือรับรอง และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล)

4. คู่สัญญานำสัญญาที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้าและคู่ฉบับ ถือเป็นสัญญาจ้างทำของที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระอากรแสตมป์

สัญญาจ้างผลิตสินค้า ควรมีรายละเอียดอะไรบ้าง?

ทั้งนี้ มีข้อพิจารณาในการผลิตและจำหน่ายสินค้าที่มีกฎหมายเฉพาะควบคุม (เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง) ผู้ผลิตจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายเฉพาะที่ควบคุมนั้นๆ ด้วย (เช่น การจดแจ้ง หรือการขึ้นทะเบียน) คู่สัญญาควรตกลงกันให้ชัดเจนว่าเป็นหน้าที่ของคู่สัญญาฝ่ายใดในการดำเนินการดังกล่าว และรวมถึงผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วย

ในกรณีที่ผู้จ้างผลิตเป็นผู้พัฒนา คิดค้นสูตร และ/หรือออกแบบสินค้าขึ้นใหม่เอง ผู้จ้างผลิตอาจกำหนด ห้ามผู้รับจ้างผลิต เปิดเผยข้อมูลสูตร และ/หรือกรรมวิธีผลิตสินค้า รวมถึงอาจกำหนดห้ามผู้รับจ้างผลิตไม่ให้ผลิตและจำหน่ายสินค้านั้นแข่งขันรวมไว้ในสัญญาว่าจ้างผลิตสินค้าหรือจะจัดทำ สัญญาเก็บรักษาความลับ และ/หรือสัญญาการห้ามประกอบอาชีพ และ/หรือกิจการแข่งขัน แยกอีกต่างหาก เพื่อการบริหารจัดการเอกสารสัญญาก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันกรณีสินค้าเลียนแบบ


อ้างอิง 

Facebook
Twitter
Pinterest